หนี้สาธารณะให้ผลลัพธ์ทางบวกหรือทางลบมากกว่ากัน
หลายคนคงจะรู้สึกสงสัยว่าทำไมตั้งแต่ประเทศไทยเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เราก็มักจะได้เห็นคำว่า ‘หนี้สาธารณะ’ ปรากฏขึ้นอยู่ตามสื่อและโซเชียลอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงราว ๆ เดือนพฤษภาคม 2564 ที่มาข่าวว่าคณะรัฐมนตรีได้ลงมติเห็นชอบร่าง พ.ร.ก.กู้เงินฉบับใหม่ขึ้นมา โดยวางวงเงินแรกไว้ 7 แสนล้านบาท ก่อนจะปรับลดลงมาเหลือ 5 แสนล้านบาท
แล้วออกเป็น ‘พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564’

หนี้สาธารณะไม่ใช่เรื่องไกลตัว ควรทำความรู้จักให้มากขึ้น
บางประเทศแม้จะมีหนี้สาธารณะสูงเกิน 200 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีแต่กลับอยู่ได้ แต่บางประเทศอย่างประเทศไทย กลับไม่ควรมีหนี้สาธารณะเกิน 60 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีซะงั้น
และหนี้สาธารณะ แม้คำนี้จะกลายเป็นคำคุ้นหูที่ได้ยินกันบ่อย ๆ แต่แท้จริงแล้วคำนี้มีองค์ประกอบอะไรบ้าง ที่สำคัญมันเกี่ยวข้องกับประชาชนอย่างไร หากหนี้สูงเกินเพดานแล้วต้องทำยังไงต่อ ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่สงสัยในคำถามเหล่านี้ วันนี้เรามีคำตอบมาให้ค่ะ

หนี้สาธารณะหมายถึง ภาระหนี้ของภาคสาธารณะที่เกิดขึ้นเมื่อรัฐ ไม่มีรายได้เพียงพอต่อรายจ่าย สำหรับผู้ก่อหนี้ขึ้นจะเป็นหน่วยงานสาธารณะ อันได้แก่ รัฐบาล, รัฐวิสาหกิจ และสถาบันไม่หวังผลกำไรของรัฐ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงหนี้ที่ภาคสาธารณะไม่ได้ก่อขึ้นโดยตรง แต่ได้รับโอนมาจากภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ ตามที่รัฐมีนโยบาย หรือได้ทำข้อตกลงกันเอาไว้
แต่หากพูดตามภาษาบ้าน ๆ เข้าใจง่าย คำว่า ‘หนี้สาธารณะ’ ก็หมายถึง ‘หนี้ของประเทศ’ ที่ประชาชนมีทั้งส่วนได้และส่วนเสียนั่นเอง สำหรับหนี้สาธารณะจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท (แบ่งจากแหล่งที่มาของเงินกู้) ดังนี้
หนี้ในประเทศ (Internal Debt) : เป็นรูปแบบหนี้สาธารณะที่กู้มาจากแหล่งกู้เงินต่าง ๆ ในประเทศ อาทิ ภาคเอกชน ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารกลาง สถาบันการเงินอื่น ๆ รวมถึงประชาชน
หนี้ต่างประเทศ (External Debt) : เป็นหนี้สาธารณะที่กู้ยืมมาจากต่างประเทศ ที่อาจจะกู้มาจากบุคคล รัฐบาลต่างประเทศ หรือสถาบันการเงินระหว่างประเทศ อาทิ ธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ที่อาจจะมีทั้งแบบมีดอกเบี้ยและไม่มีดอกเบี้ย แต่จะมีภาระผูกพันที่จะต้องชำระคืนเงินต้น ที่เป็นทุกสกุลเงินและทุกประเภทของการกู้ยืม

แต่หากสงสัยว่าหนี้สาธารณะเกี่ยวข้องกับประชาชนหรือไม่นั้น คำตอบคือ ‘เกี่ยวมาก’ ถึง ‘มากที่สุด’ เพราะหนี้สาธารณะเปรียบเสมือนพันธะระหว่างประชาชนกับงบประมาณแผ่นดิน กล่าวคือ ประชาชนจ่ายภาษี เพื่อให้รัฐนำไปใช้เป็นงบประมาณแผ่นดินเพื่อบริหารประเทศ และเพื่อชำระหนี้สาธารณะ นอกจากนี้ประชาชนยังอยู่ในฐานะ ‘เจ้าหนี้’ ได้ ในกรณีที่ซื้อพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง ตราสารหนี้ต่าง ๆ
ประชาชนมีส่วนได้ส่วนเสียจากหนี้ที่เกิดขึ้น หากในทางบวกที่รัฐนำเงินมาพัฒนาประเทศ เช่น สร้างสาธารณูปโภค, โครงสร้างพื้นฐาน, จ้างงาน, กระตุ้นเศรษฐกิจ ฯลฯ ประชาชนก็จะได้รับประโยชน์ไป แต่หากเป็นผลลบ ในกรณีที่ ‘หนี้สาธารณะมีมากเกินไป’ รัฐบาลอาจเพิ่มภาษีที่เพิ่มภาระให้กับประชาชนมากขึ้น หรือในกรณีที่รัฐไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ได้ ขณะเดียวกันเศรษฐกิจก็ตกต่ำลง นั่นอาจทำให้ประเทศถึงขั้นล้มละลาย คนตกงาน และเกิดวิกฤตเศรษฐกิจที่ยากจะฟื้นตัว

หนี้สาธารณะสูงแค่ไหนคือความเสี่ยง ไม่ไหวจะไปต่อ
สำหรับหนี้สาธารณะคงค้างในไทย ช่วงเดือนพฤษภาคม 2564 จะอยู่ที่จำนวน 8,472,186.98 ล้านบาท หรือคิดเป็น 54.28 เปอร์เซ็นของจีดีพี แน่นอนเลยว่าภาครัฐบาลคือภาคที่ก่อหนี้มากที่สุด แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง กู้เพื่อชดใช้ความเสียหายแก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ และหนี้กู้ล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้
และหากมีการสมมุติฐานว่า พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท บวกกับตัวเลขแรก 500,000 ล้านบาท อีก 100,000 ล้านบาท ภายในปีงบประมาณ 2564 จะทำให้ในช่วงเดือนกันยายน ไทยมีหนี้สาธารณะคงค้าง 58.56 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี แต่คาดว่าไทยยังคงไม่กู้เงินตาม พ.ร.ก.กู้เงิน 500,000 ล้านบาทเต็มวงเงิน เพื่อไม่ให้หนี้สาธารณะเกินเพดานภายในปีนี้ แต่อย่างในปี 2565 คาดว่าหนี้สาธารณะในไทยอาจเกิน 60 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีอย่างแน่นอน

สำหรับเรื่องเพดานความสูงของหนี้สาธารณะนั้น ประเด็นนี้อาจยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่าค่าหนี้สูงสุดได้ถึงเท่าไหร่ เพราะยังไม่มีคำตอบที่ตายตัว แต่หนึ่งคำตอบที่ชัดเจนมาก ๆ ในตอนนี้ คือค่าหนี้สาธารณะจะสูงได้มากเท่าไหร่ ก็มีความจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยและเงื่อนไขอื่น ๆ ร่วมด้วย อาทิ ระดับเศรษฐกิจของประเทศ อัตราค่าดอกเบี้ย หนี้ต่างประเทศ ฯลฯ
อย่างในประเทศญี่ปุ่นที่มีหนี้สูงถึง 256.2 เปอร์เซ็นแต่ยังอยู่ได้ นั่นเป็นเพราะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นอยู่ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว (Advanced Economies) จึงสามารถมีหนี้สาธารณะได้มากกว่าประเทศเศรษฐกิจใหม่หรือประเทศกำลังพัฒนาอย่างไทย ที่จำเป็นจะต้องมีหนี้สาธารณะให้ไม่เกิน 60 เปอร์เซ็นต์นั่นเอง

และแม้ว่าคนในประเทศจะพยายามหารายได้ช่องทางอื่นเพื่อการอยู่รอด ทั้งการขายของออนไลน์ หางานเสริม ลงทุนสมัครเว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นต์ แต่ถึงอย่างไรส่วนหนึ่งของการพยุงเศรษฐกิจให้ไปในทิศทางเดียวกันกับหนี้สาธารณะ ก็จะต้องขึ้นอยู่กับผู้บริหารประเทศนั้น ๆ ว่าสามารถพัฒนาประเทศให้มีศักยภาพและเติบโตได้ดีมากขนาดไหนเช่นกัน