3 ผลลัพธ์ใหญ่ที่เกิดขึ้นเมื่อกู้เงินต่างประเทศ แบบสาธารณะ

3 ผลลัพธ์ใหญ่ที่เกิดขึ้นเมื่อกู้เงินต่างประเทศ แบบสาธารณะ

เปิดผลลัพธ์ที่(อาจ)เกิดขึ้นทันที เมื่อกู้เงินต่างประเทศ

วันนี้เรายังคงอยู่กันในหัวข้อหนี้สาธารณะ ที่หากใครได้อ่านจากบทความที่แล้วคงจะพอรู้กันแล้วนะ ว่าหนี้สาธารณะคืออะไร มีความสำคัญ และมีความเกี่ยวข้องกับประชาชนในประเทศอย่างไรบ้าง ที่สำคัญถึงแม้ว่าคนในประเทศจะปรับตัวยังไง แต่หากรัฐบาลไร้ซึ่งการควบคุมที่ดี ก็ยากที่จะชำระหนี้สินให้หมดไปในเร็ววัน บวกกับในตอนนี้เกิดวิกฤตโควิด-19 อีก และเป็นที่รู้กันว่ามันไม่ได้นำมาแค่โรคร้าย แต่มันยังนำพาวิกฤตเศรษฐกิจมาให้ประเทศไทยอีกด้วย

แต่ทุกคนสงสัยหรือไม่ ว่าประเทศไทยนอกจากจะมีแหล่งยืมเงินภายในประเทศแล้ว ยังไปหยิบยืมเงินจำนวนมหาศาลมาจากแหล่งไหนอีกบ้าง? ใครเป็นผู้ให้กู้ยืม หากคุณสงสัย วันนี้เราจะพาทุกคนไปหาคำตอบด้วยกัน

เปิดผลลัพธ์ที่(อาจ)เกิดขึ้นทันที เมื่อกู้เงินต่างประเทศ
เปิดผลลัพธ์ที่(อาจ)เกิดขึ้นทันที เมื่อกู้เงินต่างประเทศ

รัฐบาลไทยเป็นหนี้ใครบ้าง กู้เงินต่างประเทศมาจากแหล่งไหน

ก่อนอื่นขอบอกก่อนว่าแหล่งเงินกู้ที่เรากำลังจะนำเสนอต่อไปนี้ เป็นแหล่งเงินกู้ที่ประเทศไทย (อ้างอิงจาก ไทยรัฐ) ‘ยังมีหนี้ค้างอยู่เท่านั้น’ ไม่ได้นับแหล่งเงินกู้ก่อนหน้าที่เคยกู้หรือชำระหนี้ครบไปแล้ว โดยสกุลเงินที่ประเทศเราเป็นหนี้ได้มีอยู่ 2 สกุลเงินหลัก ได้แก่ ดอลลาร์สหรัฐ และเยน (เงินของญี่ปุ่น) แต่จะมีสกุลเงินอื่น ๆ อยู่เพียงเล็กน้อย

แต่ตามข้อมูลของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้มีการจำแนกหนี้สาธารณะตามแหล่งเงินกู้แค่สกุลเงินเดียว คือ สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ เท่านั้น โดยแหล่งเงินกู้ต่างประเทศที่เป็น เจ้าหนี้ของไทย มีอยู่ 5 แหล่ง ใน 3 ประเภท ดังนี้

รัฐบาลไทยเป็นหนี้ใครบ้าง กู้เงินต่างประเทศมาจากแหล่งไหน
รัฐบาลไทยเป็นหนี้ใครบ้าง กู้เงินต่างประเทศมาจากแหล่งไหน

ประเภทที่ 1 สถาบันการเงินระหว่างประเทศ

  • ธนาคารโลก : เป็นหนี้สินที่รัฐบาลกู้โดยตรง จำนวน 791.50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ธนาคารพัฒนาเอเชีย : เป็นหนี้สินที่รัฐบาลกู้โดยตรง จำนวน 976.97 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ประเภทที่ 2 รัฐบาลต่างประเทศ

  • องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency: JICA) : หนี้สินที่รัฐบาลกู้โดยตรง จำนวน 1,707.68 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน (มีรัฐเป็นผู้ค้ำ) จำนวน 1,208.10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมทั้งสิ้น 2,915.78 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • สถาบันเครดิตเพื่อการบูรณะและพัฒนาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน (KfW) : หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน (มีรัฐเป็นผู้ค้ำ) จำนวน72 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • แหล่งอื่น ๆ เป็นหนี้สินที่รัฐบาลกู้โดยตรง จำนวน65 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ประเภทที่ 3 ตลาดเงินทุนต่างประเทศ

  • หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลไม่ค้ำประกัน) จำนวน 81 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
3 ผลลัพธ์ใหญ่ที่เกิดขึ้นเมื่อกู้เงินต่างประเทศ แบบสาธารณะ
3 ผลลัพธ์ใหญ่ที่เกิดขึ้นเมื่อกู้เงินต่างประเทศ แบบสาธารณะ

และการกู้หนี้ยืมสินแค่การหยิบยืมเล็ก ๆ น้อย ๆ ยังต้องมีดอกเบี้ยเพิ่มสำหรับลูกหนี้ แน่นอนเลยว่าการยืมเงินต่างประเทศมันก็ต้องมีข้อแลกเปลี่ยนบางอย่างด้วยเช่นกัน ซึ่งมันมักจะเกิดผลลัพธ์ต่าง ๆ ได้ 3 ข้อใหญ่ ดังนี้

  1. การกู้ยืมเงินจากต่างประเทศมักจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินในประเทศ หากรัฐบาลกู้เงินเข้ามา เงินตราต่างประเทศในไทยก็จะเพิ่มขึ้น เงินหมุนเวียนมากขึ้น และอำนาจซื้อของประเทศก็จะเพิ่มตามไปด้วย แต่ทั้งนี้การกู้ยืมเงินไม่ได้ทำให้จำนวนเงินในประเทศเกิดการเปลี่ยนแปลง เพียงแค่มีการโยกย้ายจากภาคเอกชนไปอยู่กับภาคสาธารณะ และท้ายที่สุดเมื่อมีการชำระหนี้แล้วก็จะถูกย้ายกลับไปภาคเอกชนดังเดิม
  2. หนี้ต่างประเทศแน่นอนเลยว่าจะต้องเป็นเงินตราต่างประเทศเช่นกัน ซึ่งนี่จะเสี่ยงต่อการแลกเปลี่ยนที่อ่อนค่า – แข็งค่า และส่งผลใหญ่ต่อการชำระหนี้ คิดแบบง่าย ๆ ก็คือ หากครบกำหนดชำระหนี้แล้วบังเอิญว่าในขณะนั้นเงินบาทไทยอ่อนค่า ก็จะทำให้รัฐบาลไทยต้องชำระหนี้ด้วยเงินจำนวนมหาศาลกว่าที่คิดเอาไว้ แต่ในทางตรงข้ามหากโชคดีเงินบาทแข็งค่าขึ้นมา ก็จะทำให้ไทยชำระหนี้ในจำนวนที่น้อยลงกว่าเดิม
  3. เงินกู้ต่างประเทศมาพร้อมกับเงื่อนไขบางอย่าง ที่ประเทศไทยในฐานะลูกหนี้ต้องปฏิบัติตาม เช่น ข้อตกลงในการซื้อสินค้าจากประเทศผู้ให้กู้ หรือธนาคารโลกจะเข้ามาควบคุมการดำเนินงานตามโครงการอย่างใกล้ชิด เป็นต้น
กำหนดกรอบวินัยทางการเงิน เพื่อไม่ให้ยอดกู้มากเกินไป
กำหนดกรอบวินัยทางการเงิน เพื่อไม่ให้ยอดกู้มากเกินไป

ด้วยผลลัพธ์ด้านลบของการกู้เงินต่างประเทศมีมากกว่าด้านบวก นั่นจึงจำเป็นต้องการกำหนด กรอบวินัยการเงินการคลัง ขึ้นมา เพื่อไม่ให้จำนวนหนี้สินมีมากเกินไป โดยได้กำหนดเอาไว้ว่า หนี้สาธารณะที่เป็นเงินตราต่างประเทศจะต้องไม่เกิน 10 % ของหนี้สาธารณะทั้งหมด (ปัจจุบันอยู่ที่ 1.18%) และภาระหนี้สาธารณะที่เป็นเงินตราต่างประเทศจะต้องไม่เกิน 5% ของรายได้การส่งออกสินค้าและบริการ (ปัจจุบันอยู่ที่ 0.06%)

โดยข้อสรุปของการกู้ยืมเงินของรัฐบาลจะระบุได้ชัดเจนเพียงแค่การยืมเงินต่างประเทศเท่านั้น ส่วนเงินกู้ภายในประเทศจะยากต่อการจำแนก เนื่องจากมีเจ้าหนี้จำนวนมากทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา เพราะฉะนั้นแล้วรัฐบาลจะต้องบริหารจัดการเงินกู้ให้ชัดเจนและเกิดประโยชน์สูงสุด เพราะต่อให้คนถึงขั้นสมัครตรงไม่ผ่านเอเย่นต์เพื่อหารายได้เสริม แต่หากจัดการไม่ดีก็อาจส่งผลกระทบครั้งใหญ่ได้เช่นกัน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *