หนี้ครัวเรือนในไทยสร้างนิวไฮทะลุ 90% ไม่รวมหนี้นอกระบบ

หนี้ครัวเรือนในไทยสร้างนิวไฮทะลุ 90% ไม่รวมหนี้นอกระบบ

คนไทยแบกภาระหนี้ครัวเรือน สูงขึ้นทุกปี!

ปัญหาหนี้สินของคนไทยหรือปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงนั้น แน่นอนเลยว่ามันไม่ได้เกิดขึ้นมาภายในวันสองวัน หากแต่มันกลายเป็นดินพอกหางหมูที่ถูกสั่งสมมาจากหลาย ๆ ปัจจัย แล้วยิ่งตอนนี้มีโควิด-19 ทำให้เป็นหนี้ ที่ส่งผลให้ภาพปัญหาการเป็นหนี้สินของคนไทยค่อย ๆ ชัดเจนมากขึ้น

ซึ่งวิกฤตโควิด-19 นับว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่ให้กระทบต่อเส้นทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ทั้งยังเป็นการตอกย้ำวังวนปัญหาหนี้สินครัวเรือนที่ไม่จบไม่สิ้น โดยเฉพาะกับครัวเรือนที่ขาดราย รายได้ลดลง หรือมีรายได้ที่ไม่สม่ำเสมอด้วยแล้ว ก็ย่อมเกิดความยากในการชำระหนี้คืนนั่นเอง

คนไทยแบกภาระหนี้ครัวเรือน สูงขึ้นทุกปี
คนไทยแบกภาระหนี้ครัวเรือน สูงขึ้นทุกปี

หนี้สินครัวเรือนคืออะไร ทำไมคนไทยเสี่ยงจมหนี้ ?

หากคุณกำลังตั้งคำถามว่าหนี้ครัวเรือนคืออะไร วันนี้เราขออนุญาตนำคำตอบแบบเข้าใจง่าย ๆ มาฝากกัน หนี้ครัวเรือน หรือ หนี้สินครัวเรือน พูดด้วยภาษาเข้าใจง่ายคือหนี้สินของแต่ละบ้าน ที่ทางสถาบันการเงินต่าง ๆ ให้สิทธิ์กับประชาชนทั่วไปได้กู้ยืม เพื่อนำไปใช้จ่าย ซื้อของ หรือต่อยอดทำธุรกิจต่าง ๆ ตามความต้องการของแต่ละคน (สำหรับคนที่อยู่ในประเทศเท่านั้น)

ข้อดีของการกู้ยืมประเภทนี้ คือหากยอดกู้กับรายได้มีความเหมาะสมกันก็ย่อมได้ผลลัพธ์ด้านบอกแน่นอน แถมการกู้ประเภทนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เศรษฐกิจในไทยได้ขยายตัว เพราะเงินจะเกิดการหมุนเวียน ตัวอย่างง่าย ๆ คือ แม่ค้า ก. กู้เงินมาลงทุนค้าขาย จากนั้นไปซื้อวัตถุดิบจากร้าน ข. ค. ง. เงินก็จะถูกส่งต่อไปอีกทอดหนึ่ง หรือแม่ค้า ก. มีรายได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ก็จะนำเงินไปออกรถกระบะคันใหม่ จากนั้นเงินก็จะถูกหมุนเวียนไปเรื่อย ๆ หากมองมุมกว้างคือหนี้ครัวเรือนมากขึ้นเท่าไหร่ รายได้ของประชากรก็จะมากขึ้นเท่านั้น

หนี้ครัวเรือนในไทยสร้างนิวไฮทะลุ 90% ไม่รวมหนี้นอกระบบ
หนี้ครัวเรือนในไทยสร้างนิวไฮทะลุ 90% ไม่รวมหนี้นอกระบบ

แต่! ใช่ว่าหนี้ครัวเรือนจะมีเพียงข้อดี เพราะหากเมื่อใดที่ ‘หนี้มากกว่ารายได้’ นั่นแหละคือแผลใหญ่ของปัญหา หรือที่เรียกกันว่า หนี้เสีย (NPL) ที่จะส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงินที่เรากู้เงินมา ประกอบกันตอนนี้เกิดพิษเศรษฐกิจจากสถานการณ์โควิด ที่ทำให้การส่งออกลดน้อยลง ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ การท่องเที่ยวมีน้อย ฯลฯ มันจึงเกิดเป็นผลกระทบแบบลูกโซ่ที่ทำให้ประชาชนเป็นหนี้ครัวเรือนสูงสุดในประวัติศาสตร์

โดยเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ออกบทวิเคราะห์สถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทย ระบุว่าหนี้สินของประชาชนเติบโตเร็วกว่าเศรษฐกิจในไทย โดยยอดค้างหนี้ครัวเรือนในไทยไตรมาส 1/2564 ขยับมาอยู่ที่ 14.13 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 90.5% ต่อจีดีพี ที่ถือว่าสูงสุดในรอบ 18 ปี เลยก็ว่าได้ ส่วนใหญ่มาจากหนี้ 3 กลุ่ม ได้แก่ หนี้บ้าน, หนี้ประกอบอาชีพ และหนี้เพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน

และแนวโน้มในช่วงปี 2564 นั้น ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้มีการประมาณหนี้ครัวเรือนไทยไว้ว่า น่าจะเติบโตขึ้นมาอยู่ในกรอบ 90-92% ต่อจีดีพี (สูงกว่ากรอบเดิมที่คาดไว้ 89-91% ต่อจีดีพี)

พิษเศรษฐกิจจากสถานการณ์โควิด
พิษเศรษฐกิจจากสถานการณ์โควิด

ถึงเวลาที่ภาครัฐต้องแก้ปัญหาเรื่องหนี้สินแบบโปร่งใสแล้วหรือยัง?

ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมายังไม่ได้พูดรวมไปถึง ‘หนี้นอกระบบ’ ที่เปรียบเสมือนชิ้นเนื้อร้ายที่คอยกัดกร่อนโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างรุนแรง เพราะอย่างที่รู้กันว่าดอกเบี้ยของหนี้นอกระบบคฤโหดขนาดไหน ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ร้อยละ 3 ต่อวัน หรือมากกว่า 1,000% ต่อปี โดยกลุ่มคน(ส่วนใหญ่) ที่มักจะไปเกี่ยวพันกับหนี้นอกระบบ (อ้างอิง กระทรวงยุติธรรม) ได้แก่

  • พ่อค้าแม่ค้า ที่ไม่เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยาก จึงจำเป็นต้องพึ่งพาหนี้นอกระบบจากคนรู้จัก ที่เข้าถึงได้ง่ายกว่า
  • พนักงานรัฐวิสาหกิจ
  • ข้าราชการ ส่วนใหญ่จะเป็นข้าราชการต่างจังหวัดที่มักเกิดปัญหาหนี้นอกระบบ
  • เกษตรกร ถือเป็นกลุ่มที่ประสบปัญหาขั้นรุนแรง เพราะมีนายทุนอยู่ทุกพื้นที่ ได้ทั้งเครื่องมือการเกษตร อุปกรณ์ สินค้า แล้วปิดท้ายด้วยการนำโฉนดที่ดินมาวางไว้
ถึงเวลาที่ภาครัฐต้องแก้ปัญหาเรื่องหนี้สินแบบโปร่งใสแล้วหรือยัง?
ถึงเวลาที่ภาครัฐต้องแก้ปัญหาเรื่องหนี้สินแบบโปร่งใสแล้วหรือยัง?

นอกจากนี้ก็ยังมีประชาชนกลุ่มอื่น ๆ ที่ตกอยู่ใต้อำนาจของหนี้นอกระบบ ด้วยเหตุผลส่วนตัวที่แตกต่างกันออกไป ท้ายที่สุดคงถึงเวลาแล้วที่หน่วยงานของรัฐจะต้องเข้ามาจัดการด้วยความตั้งใจ ให้ความโปร่งใส ทั้งกับหนี้ในระบบและนอกระบบเสียที อาจจะเป็นการนำแนวทางตัวอย่างจากต่างประเทศ (ที่เคยประสบปัญหาเดียวกัน) มาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของคนไทย ก็น่าจะช่วยให้คุณภาพชีวิตของคนไทยดีขึ้นได้

รวมไปถึงวางแนวทางแก้ไขหนี้สินระยะยาวเพื่อพยุงเศรษฐกิจและการมีหนี้สินของครัวเรือนแบบจริงจัง เมื่อผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 ไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูแลการก่อหนี้ของประชาชนให้สอดคล้องกับรายได้ เพิ่มช่องทางการหารายได้ และความสามารถในการชำระหนี้ เพื่อให้ประชาชนมีรายได้ที่แน่นอน มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีกว่าเดิม และไม่ต้องพึ่งพาหนี้นอกระบบ หรือสล๊อตเว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นที่มีความเสี่ยง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *