ย้อนรอยเส้นทางการบินไทย (เกือบ)ล้มละลาย แต่ได้ไปต่อ

ย้อนรอยเส้นทางการบินไทย (เกือบ)ล้มละลาย แต่ได้ไปต่อ

มหากาพย์สายการบินไทย เกือบไม่ไหวแต่ได้ไปต่อ

การบินไทย’ ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสายการบินที่อยู่คู่เมืองไทยมานานกว่า 60 ปี ที่ก่อนหน้านี้ได้โดนพิษโควิดเล่นงาน จนถึงขั้นไปต่อไม่ได้ และส่อแววล้มละลายตามที่เราได้เห็นกันในโลกโซเชียล รวมถึงช่องทางข่าวสารอื่น ๆ

และหลังจากที่ลุ้นกันมาหลายเดือน ว่าการบินไทยจะอยู่ในขั้นตอนของการฟื้นฟูกิจการ หรือมีอันต้องล้มละลายไป หรือรัฐจะสามารถยื่นมือเข้าช่วยได้ด้วยวิธีไหน ซึ่งเรื่องนี้เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2564 ก็ได้ข้อสรุปแล้วว่า ‘การบินไทยได้ไปต่อ’ พร้อมเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการภายใต้บทบัญญัติของ พ.ร.บ.ล้มละลาย

ย้อนรอยเส้นทางการบินไทย (เกือบ)ล้มละลาย แต่ได้ไปต่อ
ย้อนรอยเส้นทางการบินไทย (เกือบ)ล้มละลาย แต่ได้ไปต่อ

คนเปรียบการบินไทยเหมือนผู้ป่วยเรื้อรัง เข้าขั้นอาการโคม่า

ซึ่งประมาณ 1 เดือนของการตัดสินใจ ก็เป็นสิ่งที่คนในสังคมให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ว่าการบินไทยจะสามารถคงสถานะการเป็นรัฐวิสาหกิจได้หรือไม่ หลังจากที่การบินไทยได้ร้องขอต่อรัฐบาลให้กระทรวงการคลังซื้อหุ้นการบินไทย เพื่อให้การบินไทยสามารถกลับไปเป็นรัฐวิสาหกิจอีกครั้ง ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นเพราะหากการบินไทยไม่ได้อยู่ในฐานะรัฐวิสาหกิจ ก็จะทำให้เจ้าหนี้ ‘ไม่ไว้วางใจ’ และไม่เห็นชอบต่อการฟื้นฟูกิจการ ท้ายที่สุดก็ต้องจบลงด้วยการ ‘ล้มละลาย’

และเรื่องนี้คนส่วนใหญ่ก็ยกให้การบินไทยเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่รักษาเยียวยามานานหลายปี แต่เมื่อเจอวิกฤตโควิด-19 เข้าไป จึงถูกยกระดับให้เป็นผู้ป่วยอาการโคม่าในทันที ซึ่งจริง ๆ แล้ว ตั้งแต่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ที่เป็นการสรุปยอดหนี้สิน ณ สิ้นปี 2562 พบว่า การบินไทยมีหนี้สินราว ๆ 240,000 ล้านบาท

คนเปรียบการบินไทยเหมือนผู้ป่วยเรื้อรัง เข้าขั้นอาการโคม่า
คนเปรียบการบินไทยเหมือนผู้ป่วยเรื้อรัง เข้าขั้นอาการโคม่า

ทันทีที่โควิดเข้ามาส่งผลให้การเดินทางระหว่างประเทศต้องหยุดชะงัก และการบินไทยปรับลดเที่ยวบินหลายเส้นทางนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งเรื่องนี้ สุเมธ ดำรงชัยธรรม กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ยอมรับเองเลยว่า โควิด-19 ทำให้ผลประกอบการทรุดหนัก พร้อมเปิดเผยว่าจะปรับลดผลตอบแทนของฝ่ายบริหารลงตามลำดับ และปรับค่าใช้จ่าย ‘ที่ไม่จำเป็น’

แม้จะส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือจากกระทรวงคมนาคม ในฐานะที่เป็นสายการบินแห่งชาติ แต่รมว.ก็ได้ปฏิเสธ ที่ให้เหตุผลว่าแผนยังไม่มีความชัดเจนเป็นรูปธรรม จึงให้กลับไปจัดทำรายละเอียดเพื่อนำมาเสนอใหม่ จากนั้นการบินไทยก็เข้าสู่การปรับตัวครั้งใหญ่ ซึ่งครั้งแรกในวันที่ 13 มีนาคม 2563 ก็ได้ออกปะกาศ ‘โครงการลาหยุดโดยไม่รับเงินเดือนด้วยความสมัครใจ’ เพื่อให้พนักงานมีส่วนช่วยในการแบ่งเบาภาระของบริษัท พร้อมกับลดเที่ยวบินแล้วกว่า 30%

การบินไทยอยู่ในช่วงฟื้นฟูเศรษฐกิจ
การบินไทยอยู่ในช่วงฟื้นฟูเศรษฐกิจ

นับจากนี้คือช่วงเวลาพิสูจน์ศักยภาพ ของสายการบินไทย

จากนั้นศาลได้มีการไต่สวนและใช้เวลาพิจารณาคดีรวม 3 นัด จนวันที่ 14 กันยายน 2563 ศาลล้มละลายกลางก็ได้มีการนัดฟังคำสั่งคดีการบินไทยขอฟื้นฟูกิจการ และมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการบริษัทการบินไทย จนกระทั่งปลายเดือนกันยายน 2563 เราก็ได้เห็นข่าวคราวการเคลื่อนไหวของการบินไทย เกี่ยวกับความพยายามในการหารายได้ อาทิ การเปิด Royal Orchid Dining Experience ภัตตาคารอร่อยล้นฟ้า ที่จำลองบรรยากาศการขึ้นเครื่องเพื่อรับประทานอาหาร, การจำหน่ายปาท่องโก๋, จัดทัวร์บินชมน่านฟ้าไทย ฯลฯ

นอกจากนี้ยังได้มีการเปิดเที่ยวบินพิเศษสำหรับผู้โดยสารที่มีความจำเป็น (ระหว่างประเทศ) และในเดือนตุลาคม 2563 ก็จัดโครงการให้พนักงานลาออก แบบ 2 ระยะ จากนั้นก็เดินหน้าร้องขอโดยมีกระทรวงการคลังหนุนหลังและผลักดันอย่างเต็มที่

นับจากนี้คือช่วงเวลาพิสูจน์ศักยภาพ ของสายการบินไทย
นับจากนี้คือช่วงเวลาพิสูจน์ศักยภาพ ของสายการบินไทย

ท้ายที่สุดวันที่ 19 พฤษภาคม 2564 ก็ผ่านการพิจารณาและเข้าสู่แผนการฟื้นฟูกิจการอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งหัวใจหลักของการฟื้นฟูกิจการ คือ ‘การพักชำระหนี้’ ที่ถือว่าเป็นประโยชน์สูงสุดของลูกหนี้ที่ไม่ต้องชำระหนี้ในช่วงเวลาที่กำหนด ลูกหนี้สามารถดำเนินกิจการให้คล่องมากขึ้นได้ และไม่ต้องกังวลว่าจะถูกฟ้องหรือถูกเรียกให้ชำระหนี้

ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับการบินไทยแล้ว ว่าจะสามารถพิสูจน์ศักยภาพในการบริหารจัดการได้ดีหรือไม่ เพราะหากรอบนี้การบินไทยก้าวพลาดอีก มีหวังเราอาจได้โบกมือบ๊ายบายสายการบินแห่งชาตินี้ก็เป็นได้ เอาเป็นว่าใครอยากจะไปอุดหนุนสายการบินแห่งชาติอย่างสายการบินไทย แต่ไม่มีงบก็ลองให้ สล๊อตเว็บตรงไม่ผ่านเอเย่น เป็นตัวช่วยทางการเงินก็ดีเหมือนกันนะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *