ใครจะรู้ว่า สถานการณ์หนี้ในประเทศไทย ณ ขณะนี้ พุ่งขึ้นอยู่จุดที่อาจไม่เคยเจอมาก่อน เพราะมีหนี้สาธารณะ อยู่ที่ 52.28% ในขณะที่ในปีที่ผ่านมา 2563 มีหนี้สาธารณะอยู่ที่ 49.35% โดยเพิ่มจากปีก่อนหน้า 2562 ที่ 41.04% คำถามคือสิ่งนี้กำลังบอกอะไรเรา?
ทำความเข้าใจหนี้สาธารณะ
คำว่าหนี้ เกิดจากการกู้ยืม และการกู้ยืมนั้นทำให้เกิดหนี้โดยรวม ดังนั้น หากเป็นหนี้สาธารณะ ก็คือ การกู้ยืมเงินของรัฐบาล เนื่องจากทางภาครัฐมีรายได้ จากการเก็บภาษี จากการปฏิบัติธุรกิจต่างๆ ที่ไม่พอกับรายจ่ายนั่นเอง ซึ่งหากประเทศไหนมีหนี้สาธารณะเยอะ แปลว่าประเทศนั้นมีฐานะไม่ดี และอาจล่มจมได้ ดังนั้น หนี้สาธารณะคือหนี้ของประเทศโดยรวม
ถ้ามีหนี้สาธารณะ แล้วหนี้ครัวเรือนหล่ะ?
เมื่อมีหนี้ภาพรวมคือ Public Debts หรือ หนี้สาธารณะ แล้วถ้าเป็นหนี้ในครัวเรือนก็จะเรียกว่า Household Debts ซึ่งเป็นหนี้ที่เกิดจากแต่ละครอบครัว เช่นการผ่อนรถ หนี้บัตรเครดิต ที่แต่ละครอบครัวติดหนี้อยู่กับสถาบันการเงินต่างๆ ซึ่งในปี 2562 หนี้เฉลี่ยแต่ละครัวเรือนคือ 340,053 บาท โดยคิดเป็นหนี้ในระบบ 59.2% และนอกระบบ 40.8% โดยมักมีการติดหนี้ดังนี้
- หนี้บ้าน
- รถยนต์
- ใช้จ่ายทั่วไป
- ลงทุนในธุรกิจ
- บัตรเครดิต
- หรือการใช้หนี้เก่า
ซึ่งหนี้ครัวเรือนในปี 2563 ที่ผ่นามา อยู่ที่ 89.3% สูงสุดในรอบ 18 ปี มูลค่า 14 ล้านล้านบาท โดยมีผลกระทบจากโควิด ทั้งสิ้น
สถานการณ์เศรษฐกิจ และหนี้สินในเอเชีย
หากมองว่าประเทศไทยแย่แล้ว ลองมองไปที่ประเทศฟิลิปปินส์กันดูบ้าง โดยข่าวจาก CNN มีการไปสัมภาษณ์กับชาวบ้านในมะนิลา ซึ่งต้องยอมรับสภาพกับการมีอาหารเพียงวันละมื้อ ในขณะที่ ไม่ค่อยมีใครสนใจฉีดวัคซีน แต่สนใจเรื่องปากท้องมากกว่า
แม้ว่าในหลายประเทศ หญิงสาวมีการออกหารายได้เสริม กับการสมัครเป็น Sideline ซึ่งในตลาดทั่วโลกมีมูลค่ามากถึง 186 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ และยกตัวอย่างที่อินเดียอย่างเดียว มีหญิงขายบริการมากถึง 20 ล้านคนด้วยกันก็ตาม ก็ยังคงประสบปัญหา เกี่ยวกับรายได้ ของการรับงานเช่นเดิม
มองย้อนกลับมาจากอินเดีย มาวิเคราะห์ที่ อินโดนีเซีย ธุรกิจขนาดเล็กปิดตัวลงเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ รวมถึงประเทศไทยด้วย
ถ้าเรานึกถึงประเทศที่มีความั่นคง มั่งคั่ง อย่างญี่ปุ่น ที่คิดว่ามีการจัดการที่ดี แต่ล่าสุด ในเดือนที่ผ่านมา จากการเปิดเผยของ Nippon.com พบว่า หนี้สาธารณะท่วมท้น มากถึง พันล้านล้านเยน (Quadrillion) หรือราวๆ 285 ล้านล้าน บาทไทย สูงสุดตั้งแต่ปี 2011 โดยที่ว่ากันว่าเด็กเกิดใหม่วันนี้จะมีหนี้ค้างอยู่ที่ตัวแล้วที่ 2.8 ล้านบาท
นี่ยังไม่นับประเทศอื่นๆที่ยังไม่กล่าวถึง ใน ตอนนี้
หลังจากโควิดจะเป็นอย่างไร?
ว่ากันว่าโควิด 19 จะคงอยู่กับเราไปอีกนานแสนนาน แต่เมื่อทุกฝ่ายเลิกกังวลจากการฉีดวัคซีนแล้ว ก็อาจจะกลับมาเร็วกว่าเดิม แต่แม้โรคทางกายจะหายไป แต่โรคทางการเงินจะเข้ามาแทนที่ สิ่งที่ดีที่สุด ระหว่างนี้ และหลังโควิดที่ควรทำก็คือ
- ติดต่อเจ้าหนี้เพื่อประนอมหนี้
- หาผู้เชี่ยวชาญในการคำนวณ และ ปรับ โครงสร้างหนี้
- หลีกเลี่ยงเงินกู้นอกระบบ และ กลโกง
- หากเป็นบริษัท ก็จะต้องมีการปรึกษาฝ่ายกฏหมายเกี่ยวกับการแจ้งล้มละลาย
Consumerfinance.gov มีการแนะนำ ไว้ว่า การต่อสู้กับหนี้ก้อนโต คือไม่ใช่หนีเรื่องนี้ แต่เป็นการเผชิญหน้ากับมัน โดยการติดต่อเจ้าหนี้ เข้าเจรจา และปรับโครงสร้าง ด้วยโครงการของภาครัฐฯ หรือ ภาคเอกชน ซึ่งจะทำให้เรื่องหนักกลายเป็นเบาได้