บัตรเครดิตใช้ง่าย และเป็นหนี้ง่ายเหมือนกัน ปฏิเสธได้ยากเลยว่าการ์ดอำนวยความสะดวกอย่าง ‘บัตรเครดิต’ มาพร้อมกับข้อดีหลายข้อ ทั้งความปลอดภัย (กว่าการถือเงินสด), การผ่อนจ่ายในการซื้อสินค้า หรือบางบัตรก็จะมีโปรโมชั่นสะสมคะแนนสำหรับแลกขของรางวัล แต่ด้วยความสะดวกสบายของบัตรเครดิตนี่แหละ ที่ทำเอาคนกลายเป็นหนี้สินก้อนโตได้แบบง่าย ๆ เพราะคนมักจะเกิดพฤติกรรมการใช้จ่ายที่เกินตัว ไม่คำนวณรายรับให้มีความเหมาะสม หรืออาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น เช่น รายได้ลดลง ตกงาน หรืออย่างล่าสุดพิษวิกฤตโควิด-19 ก็ทำให้คนกลายเป็นหนี้บัตรเครดิตได้เช่นกัน แก้ไขปัญหาชีวิตรุงรัง ด้วยการเลิกจ่ายขั้นต่ำ หนี้สินถือเป็นปัญหาใหญ่ของประชาชน ทั้งหนี้ครัวเรือน หนี้บ้าน
Year: 2021
กู้เงินเพิ่มคือทางออก ปัจจัยที่ทำให้คนไทยเป็นหนี้เกินตัว
หนี้เกินตัว ฝันร้ายที่ใคร ๆ ก็ไม่อยากให้เกิดขึ้น หากคุณได้มีโอกาสลองเปิดใจพูดคุยกับคนที่เป็นหนี้ คงเกิดความคิดว่า ‘กู้มาทำไม’ ‘ทำไมไม่รีบคืนให้จบๆ’ หรือคำถามต่าง ๆ นานาที่พอจะคิดออก แต่หากคุณลองปรับเปลี่ยนจุดยืนกับคนกลุ่มเหล่านั้น ก็อาจทำให้คุณถึงบางอ้อเลยว่า ภาระค่าใช้จ่ายและรายได้ของคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน ยิ่งในตอนนี้มีพิษโควิดเข้ามาเล่นงานด้วยแล้วนั้น ก็ยิ่งทำให้คนกลุ่มเหล่านี้เจอชิ้นเนื้อก้อนโตที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก หลาย ๆ คนคงจะเคยเห็นโครงการคลินิกแก้หนี้ที่เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สถาบันการเงิน แบงก์พาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กันมาบางแน่นอน ซึ่งโครงการนี้ตอนเปิดฉากมาก็ดูเหมือนจะดำเนินเรื่องไปได้ด้วยดี
หนี้ครัวเรือนในไทยสร้างนิวไฮทะลุ 90% ไม่รวมหนี้นอกระบบ
คนไทยแบกภาระหนี้ครัวเรือน สูงขึ้นทุกปี! ปัญหาหนี้สินของคนไทยหรือปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงนั้น แน่นอนเลยว่ามันไม่ได้เกิดขึ้นมาภายในวันสองวัน หากแต่มันกลายเป็นดินพอกหางหมูที่ถูกสั่งสมมาจากหลาย ๆ ปัจจัย แล้วยิ่งตอนนี้มีโควิด-19 ทำให้เป็นหนี้ ที่ส่งผลให้ภาพปัญหาการเป็นหนี้สินของคนไทยค่อย ๆ ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งวิกฤตโควิด-19 นับว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่ให้กระทบต่อเส้นทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ทั้งยังเป็นการตอกย้ำวังวนปัญหาหนี้สินครัวเรือนที่ไม่จบไม่สิ้น โดยเฉพาะกับครัวเรือนที่ขาดราย รายได้ลดลง หรือมีรายได้ที่ไม่สม่ำเสมอด้วยแล้ว ก็ย่อมเกิดความยากในการชำระหนี้คืนนั่นเอง หนี้สินครัวเรือนคืออะไร ทำไมคนไทยเสี่ยงจมหนี้ ? หากคุณกำลังตั้งคำถามว่าหนี้ครัวเรือนคืออะไร วันนี้เราขออนุญาตนำคำตอบแบบเข้าใจง่าย ๆ
ย้อนรอยเส้นทางการบินไทย (เกือบ)ล้มละลาย แต่ได้ไปต่อ
มหากาพย์สายการบินไทย เกือบไม่ไหวแต่ได้ไปต่อ ‘การบินไทย’ ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสายการบินที่อยู่คู่เมืองไทยมานานกว่า 60 ปี ที่ก่อนหน้านี้ได้โดนพิษโควิดเล่นงาน จนถึงขั้นไปต่อไม่ได้ และส่อแววล้มละลายตามที่เราได้เห็นกันในโลกโซเชียล รวมถึงช่องทางข่าวสารอื่น ๆ และหลังจากที่ลุ้นกันมาหลายเดือน ว่าการบินไทยจะอยู่ในขั้นตอนของการฟื้นฟูกิจการ หรือมีอันต้องล้มละลายไป หรือรัฐจะสามารถยื่นมือเข้าช่วยได้ด้วยวิธีไหน ซึ่งเรื่องนี้เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2564 ก็ได้ข้อสรุปแล้วว่า ‘การบินไทยได้ไปต่อ’ พร้อมเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการภายใต้บทบัญญัติของ พ.ร.บ.ล้มละลาย คนเปรียบการบินไทยเหมือนผู้ป่วยเรื้อรัง เข้าขั้นอาการโคม่า
3 ผลลัพธ์ใหญ่ที่เกิดขึ้นเมื่อกู้เงินต่างประเทศ แบบสาธารณะ
เปิดผลลัพธ์ที่(อาจ)เกิดขึ้นทันที เมื่อกู้เงินต่างประเทศ วันนี้เรายังคงอยู่กันในหัวข้อหนี้สาธารณะ ที่หากใครได้อ่านจากบทความที่แล้วคงจะพอรู้กันแล้วนะ ว่าหนี้สาธารณะคืออะไร มีความสำคัญ และมีความเกี่ยวข้องกับประชาชนในประเทศอย่างไรบ้าง ที่สำคัญถึงแม้ว่าคนในประเทศจะปรับตัวยังไง แต่หากรัฐบาลไร้ซึ่งการควบคุมที่ดี ก็ยากที่จะชำระหนี้สินให้หมดไปในเร็ววัน บวกกับในตอนนี้เกิดวิกฤตโควิด-19 อีก และเป็นที่รู้กันว่ามันไม่ได้นำมาแค่โรคร้าย แต่มันยังนำพาวิกฤตเศรษฐกิจมาให้ประเทศไทยอีกด้วย แต่ทุกคนสงสัยหรือไม่ ว่าประเทศไทยนอกจากจะมีแหล่งยืมเงินภายในประเทศแล้ว ยังไปหยิบยืมเงินจำนวนมหาศาลมาจากแหล่งไหนอีกบ้าง? ใครเป็นผู้ให้กู้ยืม หากคุณสงสัย วันนี้เราจะพาทุกคนไปหาคำตอบด้วยกัน รัฐบาลไทยเป็นหนี้ใครบ้าง กู้เงินต่างประเทศมาจากแหล่งไหน ก่อนอื่นขอบอกก่อนว่าแหล่งเงินกู้ที่เรากำลังจะนำเสนอต่อไปนี้ เป็นแหล่งเงินกู้ที่ประเทศไทย (อ้างอิงจาก
หนี้สาธารณะเกี่ยวข้องกับประชาชนอย่างไร สูงแค่ไหนคือไม่ไหวแล้ว
หนี้สาธารณะให้ผลลัพธ์ทางบวกหรือทางลบมากกว่ากัน หลายคนคงจะรู้สึกสงสัยว่าทำไมตั้งแต่ประเทศไทยเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เราก็มักจะได้เห็นคำว่า ‘หนี้สาธารณะ’ ปรากฏขึ้นอยู่ตามสื่อและโซเชียลอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงราว ๆ เดือนพฤษภาคม 2564 ที่มาข่าวว่าคณะรัฐมนตรีได้ลงมติเห็นชอบร่าง พ.ร.ก.กู้เงินฉบับใหม่ขึ้นมา โดยวางวงเงินแรกไว้ 7 แสนล้านบาท ก่อนจะปรับลดลงมาเหลือ 5 แสนล้านบาท แล้วออกเป็น ‘พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564’ หนี้สาธารณะไม่ใช่เรื่องไกลตัว ควรทำความรู้จักให้มากขึ้น
Covid ระลอก 3 กับสถานการณ์หนี้ในไทย เทียบ เอเชีย
ใครจะรู้ว่า สถานการณ์หนี้ในประเทศไทย ณ ขณะนี้ พุ่งขึ้นอยู่จุดที่อาจไม่เคยเจอมาก่อน เพราะมีหนี้สาธารณะ อยู่ที่ 52.28% ในขณะที่ในปีที่ผ่านมา 2563 มีหนี้สาธารณะอยู่ที่ 49.35% โดยเพิ่มจากปีก่อนหน้า 2562 ที่ 41.04% คำถามคือสิ่งนี้กำลังบอกอะไรเรา? ทำความเข้าใจหนี้สาธารณะ คำว่าหนี้ เกิดจากการกู้ยืม และการกู้ยืมนั้นทำให้เกิดหนี้โดยรวม ดังนั้น หากเป็นหนี้สาธารณะ ก็คือ การกู้ยืมเงินของรัฐบาล
Hello world!
Welcome to WordPress. This is your first post. Edit or delete it, then start writing!